ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม (PRNG) ในการเข้ารหัสที่ปลอดภัย ของ ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม

ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ที่เหมาะสำหรับใช้งานในการเข้ารหัส ถูกเรียกว่า ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่มีความมั่นคงเชิงรหัส cryptographically secure PRNG (CSPRNG) ขณะที่ ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ทั่วๆไป แค่ผ่านการทดสอบทางสถิติจำนวนหนึ่งก็พอ ส่วน ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่มีความมั่นคงเชิงรหัส ต้องผ่านการทดสอบทางสถิติทั้งหมดและต้องอยู่ภายในเวลาแบบ ฟังก์ชันพหุนาม กับขนาดของ ค่าเริ่มต้น (seed) ถึงแม้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ในทางปฏิบัติก็ตาม เราก็ยังสามารถแสดงหลักฐานข้อพิสูจน์ที่แข็งแรงเพียงพอให้เห็นได้ว่าตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่สร้างขึ้นมีความมั่นคงเชิงรหัสหรือไม่ โดยลดรูปคุณสมบัติดังกล่าวไปสู่ปัญหาที่ยากๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้ๆกันซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มปัญหา NP เช่น การแยกตัวประกอบจำนวนเต็มที่มีหลายๆหลัก โดยปกติแล้วต้องใช้เวลาหลายปีในการตรวจสอบกว่าจะสามารถยืนยันได้ว่าขั้นตอนวิธีตัวสร้างเลขสุ่มเทียมใดๆนั้นจะเป็น ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่มีความมั่นคงเชิงรหัสหรือไม่

รายการของตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่มีความมั่นคงเชิงรหัส (CSPRNG)

  • Stream ciphers
  • Block ciphers running in counter or output feedback mode
  • ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมที่ได้รับการอออกแบบมาเป็นอย่างดีสำหรับใช้ในการเข้ารหัสโดยเฉพาะ
  • การผสมผสานระหว่าง ขั้นตอนวิธีตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ดั้งเดิมหลายๆตัวโดยมีเป้าหมายในการกำจัดลำดับที่ดูเหมือนว่าไม่ได้ถูกสุ่มออกไป
  • การออกแบบ ขั้นตอนวิธี ชนิดพิเศษที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานอย่างยากทางคณิตศาสตร์ เช่น Micali-Schnorr, ขั้นตอนวิธีBlum Blum Shub ซึ่งได้พิสูจน์ความมั่นคงของรหัสได้เป็นอย่างดีไว้แล้ว ขั้นตอนวิธี เหล่านี้จะใช้เวลาช้ากว่า ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม แบบอื่นและใช้งานไม่ได้ในทางปฏิบัติด้านอื่นๆนอกจากใช้ในการเข้ารหัสเท่านั้น

ใกล้เคียง

ตัวสร้างเลขสุ่มเทียม ตัวสร้างความสอดคล้องแบบเชิงเส้น ตัวสร้างเลขสุ่มเทียมแบบบลัมบลัมชับ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวกระตุ้น ตัวรับแรงกล ตัวเรียงกระแส ตัวรับรู้สารเคมี ตัวกระตุ้นให้ทำงาน